ไทย Eng
 
 


Public Course
Management & Psychology
Finance & Account
Marketing & Sales
Tax & Law
Other
 
หลักเกณฑ์ หลักฐาน หลักการลงโทษที่ถูกต้องเป็นธรรม  
ปัญหาการลงโทษทางวินัย  มีคดีขึ้นสู่ศาลมากที่สุด นายจ้างมักแพ้คดี เพราะไม่เข้าใจหลักเกณฑ์วิธีการลงโทษทางวินัยอย่างถูกต้องถ่องแท้จึงมีการลงโทษลูกจ้างที่ไม่ได้ทำผิด ลงโทษหนักไป ลงโทษผิดขั้นตอน ลงโทษไม่เป็นธรรม ลงโทษที่ลักลั่นไม่เป็นมาตรฐานแนวทางเดียวกัน บางครั้งก็ขาดพยานหลักฐาน หรือมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอหรือเป็นพยานหลักฐานที่ไม่มีน้ำหนัก ทำให้ไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลูกจ้างกระทำผิด ทั้งนี้ เพราะขาดความรู้หลักเกณฑ์ วิธีการ สืบสวน สอบสวนหาพยานหลักฐาน และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ทำให้แพ้คดี ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนมากมาย จึงมีความจำเป็นที่นายจ้าง ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และหัวหน้างานต้องรอบรู้ในเรื่องนี้ เพื่อได้ลงโทษได้อย่างถูกต้อง  สร้างสรรค์ และเป็นธรรม
 
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :
  • เจ้าของกิจการ
  • ผู้บริหาร
  • ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • หัวหน้างานและบุคคลที่สนใจทั่วไป
หัวข้อที่ใช้ในการสัมมนา  
  • หลักเกณฑ์ และตัวอย่างการทำผิดวินัยด้วยการไม่ทำตามคำสั่ง ทำที่ห้ามทำ ทำบกพร่อง ทำผิดอาญา ทำผิดศีลธรรม มีอย่างไร
  • หลักเกณฑ์ และตัวอย่างที่ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งหรือข้อบังคับของนายจ้าง  แต่ไม่ผิดวินัย มีอะไรบ้าง
  • นายจ้างลงโทษลูกจ้างลาป่วยเกินปีละ 30วัน หรือไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้หรือไม่
  • นายจ้างลงโทษลูกจ้างที่ไม่ยอมทำงานล่วงเวลาหรือไม่ยอมทำงานในวันหยุดได้หรือไม่
  • นายจ้างลงโทษลูกจ้างที่ไม่ยอมย้าย ไม่ยอมโอน ไม่ยอมไปทำงานต่างจังหวัดได้หรือไม่
  • ลูกจ้างป่วยบ่อย  ลาบ่อย ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือหย่อนสมรรถภาพการทำงาน เป็นการทำผิดวินัยหรือไม่
  • ลูกจ้างทำผิดอาญา ในข้อที่ไม่ได้ระบุในระเบียบ เป็นการผิดวินัยหรือไม่
  • การทำผิดวินัยกับการทำผิดอาญาเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ต้องดำเนินการไปพร้อมกัน หรือแยกกัน ผลในคดีอาญาสามารถลบล้างเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือไม่
  • โทษทางวินัยมีอะไรบ้าง จะลงโทษอย่างไร จึงถูกต้อง เป็นธรรม ไม่ลักลั่นเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • ฯลฯ