ไทย Eng
 
 


Public Course
Management & Psychology
Finance & Account
Marketing & Sales
Tax & Law
Other
 
เคลียร์ปัญหาเงินค่าแรงต่างๆ ให้ถูกกฎหมายและเป็นธรรม  
เงินต่างๆ ที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างมีหลายประเภทที่มีหลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณและวิธีการจ่ายที่แตกต่างกัน หากมีการตีความ การคำนวณหรือการจ่ายไม่ถูกต้องตามลักษณะของเงินแต่ะละประเภท ย่อมส่งผลกระทบต่อการคิดเงินตามกฎหมายอีกหลายประเภทผิดไปด้วย เช่น ค่าชดเชย สินจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดเงินสบทบส่งกองทุน ประกันสังคม หรือกองทุนเงินทดแทน เป็นต้น หากคำนวณผิดแล้วเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทำให้เสียหายจ่ายเงินที่ไม่สมควรจ่ายหรือจ่ายมากเกินไป แต่คำนวณแล้วทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์เกิดข้อพิพาทโต้แย้งหรือมีคดีขึ้นสู่ศาลต้องแพ้คดี เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา และชื่อเสียงของสถานประกอบการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นายจ้าง หัวหน้างาน หรือ เจ้าบัญชีและการเงินที่ต้องการศึกษาให้รู้ถึงความหมาย หลักเกณฑ์ วิธีคำนวณ วิธีจ่ายเงินค่าแรงต่างๆ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม
 
หัวข้อที่ใช้ในการสัมมนา เวลา 09.00 – 16.30 น.
  • หลักเกณฑ์ของค่าจ้างตามกฎหมายมีอย่างไร
  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นค่าจ้าง เช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ ค่ากะ เงินประจำตำแหน่ง ค่าความรู้เชี่ยวชาญ ค่าคอมมิชชั่น ค่าวิชาชีพ เบี้ยเลี้ยงยังชีพต่างจังหวัด เป็นต้น
  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าไม่ใช่ค่าจ้าง เช่น ค่าน้ำมัน ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เงินโบนัส ค่าเครื่องแบบ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยขยัน ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินฌาปนกิจศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เป็นต้น
  • เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง แต่ต้องมีหลักฐานการจ่ายหรือใบเสร็จเป็นค่าจ้างหรือไม่
  • เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำมีจำนวนแน่นอนเป็นค่าจ้างหรือไม่
  • เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ประจำหรือจำนวนไม่แน่นอนเป็นค่าจ้างหรือไม่
  • เงินที่ลูกจ้างต้องเสียภาษีจะเป็นค่าจ้างเสมอไปหรือไม่
  • เงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของกับสัญญาจ้างแรงงาน แตกต่างกันอย่างไร
  • ค่าจ้างเป็นฐานคำนวณเงินต่างๆ อะไรบ้าง เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินสมทบจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
  • การคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด สำหรับวันทำงานทั่วไป วันทำงานกะ วันทำงานที่ตกลงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง วันทำงานที่ตกลงทำเกิน 8 ชั่วโมง จำคำนวณอย่างไร จึงจะถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
  • การคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด สำหรับลูกจ้างรายเดือน ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายชั่วโมง และลูกจ้างตามผลของงานจะคำนวณอย่างไร จึงจะถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
  • นายจ้างต้องจ่ายเงินสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไร ต้องการจ่ายเท่าใด เมื่อใด ยกเลิก แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไร
  • นายจ้างต้องจ่ายเงินต่าง ๆ เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร
  • นายจ้างผิดนัดไม่จ่ายเงินต่าง ๆ ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มเท่าใด
  • นายจ้างหักเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชดใช้หนี้ให้นายจ้างได้หรือไม่ กรณีใดบ้าง
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาประเภทต่างๆ หรือไม่
  • นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในเวลาพักหรือไม่จัดให้พักหรือจัดให้พักน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องจ่ายค่าจ้างหรือค่าล่วงเวลาจำนวนเท่าใด
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่ลูกจ้าง ถูกควบคุม คุมขัง หรือระหว่างพิจารณาคดีอาญา หรือต้องโทษคดีอาญาหรือไม่
  • ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ที่ต้องห้ามทำงานตามมาตรา 39-39/1 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่ลูกจ้างหญิงนั้นไม่ได้ทำงานหรือไม่
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้างที่จ้างเหมาค่าแรงตามมาตรา 11/1 หรือไม่เพียงใด
  • นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง มีโทษทางอาญาหรือไม่เพียงใด
  • ถาม-ตอบ ปัญหาเงินต่างๆ